วันพฤหัส, 9 พฤษภาคม 2567

ด้วง/หนอนเจาะต้นกล้วย ทำลายตอและลำต้นเสียหาย

ด้วงงวงเจาะต้นกล้วย/หนอนเจาะต้นกล้วย

ศัตรูตัวร้ายกาจตัวหนึ่งของต้นกล้วย นั่นก็คือ ด้วงงวงเจาะต้นกล้วย วันนี้ ราคาในไทย จะนำเสนอปัญหาที่เกษตรกรได้ประสบ และเจอเป็นจำนวนมาก ว่าทำไมอยู่ดี ๆ ต้นกล้วยค่อยตายไป ใบที่เคยสวยงาม ค่อย ๆ หักพับและก็แห้งเสียหายไปเลย ด้วงงวงเจาะต้นกล้วย ศัตรูกล้วยตัวร้าย ที่สามารถพบได้ทุกระยะการเจริญเติบโตของต้นกล้วยระบาด ด้วงทั้ง 2 ชนิดนี้ สามารถพบได้ทุกระยะการเจริญเติบโตของต้นกล้วย

  1. ด้วงงวงเจาะเหง้ากล้วย จะพบตัวหนอนเจาะชอนไชกัดกินทำลายระบบส่งน้ำและอาหารของเหง้ากล้วยที่อยู่ในระดับพื้นดินโคนต้นไปเลี้ยงลำต้นขาดตอนชะงักไป ไม่สามารถมองเห็นร่องรอยการท าลายของหนอนได้ชัด หากรุนแรงมาก หนอน 5 ตัวต่อ 1 เหง้ากล้วย จะสามารถทำให้ต้นกล้วยตายได้ กรณีมีแมลงติดมากับหน่อกล้วยปลูกใหม่ หน่อใหม่จะตายก่อนจะให้เครือ
  2. ด้วงงวงเจาะต้นกล้วย ตัวเต็มวัยจะมาวางไข่บริเวณกาบกล้วย ในส่วนลำต้นเหนือพื้นดินขึ้นไปถึงกลางต้น หนอนจะเจาะกัดกิน เข้าไปทีละน้อยจนถึงไส้กลางต้น จะเห็นรอบต้นมีรูพรุนไปทั่ว ทำให้ต้นกล้วยตาย หากเข้าทำลายในระยะใกล้ออกปลีถึงตกเครือ เครือจะ หักพับกลางต้นหรือเหี่ยวเฉายืนต้นตาย

การป้องกันด้วงงวงเจาะต้นกล้วย

  • ตกแต่งทำความสะอาดบริเวณกอกล้วยไม่ให้กลายเป็นที่เพาะขยายพันธุ์ของด้วงงวง
  • การป้องกันด้วยวิธีทางชีวภาพสูตรน้ำสกัดใบยาเส้น (
  • สูตร MY GREEN GARDENS)ใช้ยาเส้น1กก.กับใบสะเดา2กก.ต้มกับน้ำสะอาด 10 ลิตรให้เดือด รอให้เย็นราดบริเวณโคนต้นที่พบหนอนด้วงเข้าทำลาย
  • หน่อที่เรานำมาปลูก ต้องคัดเลือกหน่อกล้วยที่ดูแข็งแรง ล่ำๆ อวบๆ ยาวๆ ใหญ่ๆ และที่สำคัญไม่เป็นโรคหนอนกอ โดยให้ดูบริเวณรอยตัดตอกล้วยหากเป็นสีดำจุดๆ คล้ายจะมีหนอนเจาะหรืออะไรผิดสังเกตหลายๆ จุดให้คัดออกแล้วนำไปเผาทิ้งทันที
  • วางกับดัก โดยการตัดต้นกล้วยยาวประมาณ1ศอก ผ่าซีก วางคว่ำไว้โคนกล้วย เพื่อล่อให้ตัวเต็มวัยเข้ามาหลบซ่อน จากนั้นก็เอาไปทำลาย
  • ใช้ปูนขาว 2ขีด น้ำ10ลิตร ราดเป็นประจำทุก7-10วัน เพื่อลดการแพร่ระบาด
  • กรณีระบาดใช้สารเคมีทั่วๆไป อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร โดยราดโคนต้นกล้วยสูงจากพื้นดิน 30 เซนติเมตร และราดรอบโคนต้นรัศมี 30 เซนติเมตร วิธีนี้จะช่วยป้องกันการเข้าวางไข่ กำจัดหนอน และตัวเต็มวัยที่หลบซ่อนโคนต้นกล้วยได้

ขอขอบคุณ สำนักงานเกษตรและสหกรณ์ จังหวัดอุบลราชธานี